Day Trader: A Unique Blueprint สำหรับเทรดเดอร์อิสระธรรมดา ที่ต้องการทำกำไรแบบไม่ธรรมดา Part 9

9. ความเสี่ยงที่แท้จริง และ ความงมงายเกี่ยวกับ Sharp Ratio

นเรื่องของการเทรด ไม่มีเรื่องใดที่จะถูกเข้าใจผิดได้มากเท่ากับเรื่องความเสี่ยงอีกแล้ว ผมได้เห็นและได้ฟังข้อวิจารณ์รวมถึงเทรดเดอร์มากมายมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้

ส่วนนึงของเรื่องนี้ได้ถูกนำเสนอโดยกองทุนและเหล่าผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงทุนต่าง ๆ ผมจะไม่ประเมินคุณค่า (ว่ามันมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด) เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ผมจะบอกคุณว่า สิ่งที่ถูกสอนในมหาวิทยาลัยและสิ่งที่ผู้คนทั่วไปยอมรับว่าเป็น "ความรู้" เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด

เรามาเริ่มเรื่องนี้โดยการพูดถึงเรื่อง sharp ratio เป็นตัวอย่าง เมื่อพูดถึงเรื่องผลตอบแทนการลงทุน (จากการเทรด) ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ถูกให้ความสำคัญมากเกินจริงและการวัดผลแบบนี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องด้วย sharp ration เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนเมื่อเทียบกับการเติบโต (account volatility) และเรื่องนี้ถูกนำมาใช้เพื่อวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted return) เรามาเปรียบเทียบกราฟ equity curve ด้านล่างกันระหว่าง กลยุทธ์ 2 แบบ จากช่วงเวลาในการเทรดใกล้เคียงกัน ดูซิว่าแบบไหนมีความเสี่ยงมากกว่ากัน

Equity Curve #1:

Equity Curve #2:

จากการมองแบบผิวเผิน ดูเหมือนว่า กลยุทธ์ที่ 2 ซึ่งเห็นได้จาก equity cruve #2 นั้นคือวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยมาก ผลตอนแทนเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เรียบ นิ่ง เป็น 45 องศา แล้วมันก็จะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น sharp ratio  แต่นั่นหมายความว่ากลยุทธ์ในการเทรดที่ถูกโฆษณาว่ามี sharp ratio แบบนี้เป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงน้อยมากหรือเปล่า?





คำตอบคือ: ไม่จำเป็นเสมอไป ภาพที่เห็นอาจจะเป็นการใช้กลยุทธ์ arbitrage เปิดสัญญาซื้อและขายพร้อมกัน ซึ่งดูเหมือนเปอร์เซ็นต์ในการชนะจะมีสูงมาก แต่มันมีความอ่อนไหวสูงมาก (black swan events) ซึ่งมันอาจเป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูงมากและทำให้ติดลบได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เปรียบเหมือนกับการก้มเก็บเงินที่อยู่ตรงหน้ารถบดถนนที่กำลังวิ่งอยู่ คุณอาจจะทำเงินได้มากในการใช้กลยุทธ์แบบนี้แต่ไม่นานนักคุณก็จะถูกไล่ตามทัน นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเป๊ะ ๆ กับ LTCM (กองทุนที่มีชื่อเสียงมากช่วงปลาย 90's) ซึ่งบริหารโดยบุคคลที่ได้รับรางวัล Nobel Prize Laureates ที่เชื่อใน sharp ratios และ random market ซึ่ง sharp ratio สูงมากกกก จนถูกยกย่องว่าเป็น market gods แต่ในที่สุดก็ ล่มสลาย

แต่ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน และย้อนหลังกลับไปประมาณ 30 ปี ก็มีกองทุนที่มีกลยุทธ์แตกต่าง หนึ่งในนั้นมี equity curve หน้าตาเหมือน ๆ กับ equity curve #1 ซึ่งกองทุนนั้นเชื่อในกลยุทธ์ trend following และกองทุนนี้ปัจจุบันก็ยังดำเนินธุรกิจอยู่ นั่นหมายความว่า sharp ratio เป็นเรื่องแย่หรือเปล่า? บางคนเรียกมันว่ากลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูงมาก แต่อย่าลืมว่ามันถูกใช้อยู่ราว ๆ 30 ปี account volatillity (กราฟที่เห็น) นั้น มันไม่ได้แสดงความเสี่ยงให้เราเห็นแท้จริงหรอก แต่สิ่งที่เป็นความเสี่ยงที่แท้จริงคือ risk of ruin (ความเสี่ยงที่จะทำให้เราเจ๊ง) ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจจะไม่แสดงให้เราเห็นเมื่อมองจากกราฟ แต่มันมีอยู่จริงถ้าจำนวนสัญญาที่คุณเทรดนั้นมากเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนเงินในพอร์ต แต่มันมีอยู่จริงถ้าคุณพยายามที่จะใช้กลยุทธ์ scalp เทรด (เข้าเร็วมากออกเร็วมากและจำนวนการเทรดเยอะมาก) พยายามที่จะทำกำไรเพียงไม่กี่ tick (pip) ในขณะที่ใช้ stop loss ที่กว้าง แต่มันมีอยู่จริงถ้าคุณแคร์แต่เรื่อง accuracy สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้แสดงให้คุณเห็นบนกราฟ equity curve ในช่วงระยะเวลาหนึ่งสถานการณ์อาจจะดูเหมือนเข้าข้างคุณ และคุณอาจจะคิดเข้าข้างตัวเองว่ากลยุทธ์ที่คุณใช้อยู่เป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงน้อย แต่! ได้โปรด don't be fooled วันนึงตลาดจะไล่ตามคุณจนทันตราบใดที่คุณยังใช้กลยุทธ์แบบนั้นอยู่

โอกาสที่ดีที่สุดที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาวของคุณคือ การใช้ position sizing และ การบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้อง และอดทนกับการเสียในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่โชว์อยู่บนกราฟ (equity curve) อย่าพยายามกำจัดมันออกไปและคิดว่ากลยุทธ์ของคุณมีช่วงกราฟลง (drawdown) ที่ไม่สวยเมื่อเปรียบเทียบกับของคนอื่น กลยุทธ์ที่เค้าเหล่านั้นใช้อาจจะโชว์กราฟที่สวยงามแต่มันอาจจะเป็นเพียงแค่ระยะสั้น ๆ ก็ได้ ขอให้คิดเรื่อง risk of ruin เป็นหลัก เพราะนั่นคือความเสี่ยงที่แท้จริง นั่นคือสิ่งที่เทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเค้าฝ่าฟันด้วยความยากลำบากเพื่อให้ผ่านพ้นมา และตัวคุณเองก็เช่นกันต้องอดทนและผ่านมันไปให้ได้

ผมจะขอจบหัวข้อนี้ ด้วย quote ของผู้จัดการกองทุนที่มีผลงานดีเยี่ยมและสามารถอยู่รอดปลอดภัยในธุรกิจนี้ได้เป็นเวลายาวนานที่สุด

"There is an overwhelming desire to act in the face of adverse market moves. The assumption is that account volatility is bad and the goal is to avoid it. However, I have found that avoiding account volatility really inhibits the ability to trade trends well. The best traders, long­term in their mental orientation, do not avoid volatility in their account­ they patiently sit through it. The question, then, is not how to reduce account volatility, but how to manage it with proper position sizing." -Bill Dunn-

อ่านต่อตอนที่ 10 >>

คำถาม ช่างซับซ้อน: เทรดได้เงินแล้วมาสอนเทรดทำไม?
คำตอบ ช่าง(Simple): อยากเก่งเรื่องอะไร ให้สอนเรื่องนั้น อยากเทรดให้เก่ง ก็ยิ่งต้องสอนเทรด the more you tech, the better you learn.

Our Recommended Platform